เกี่ยวกับวิชาการเขียนโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการ GUI

จุดประสงค์รายวิชา
1. เข้าใจคำสั่ง โครงสร้างและหลักไวยากรณ์ของภาษา
2. วิเคราะห์การแก้ปัญหาเชิงขั้นตอนวิธีและออกแบบโปรแกรมอย่างง่าย
3. สามารถสังเคราะห์คำสั่งในโปรแกรมภาษา ให้ออกมาเป็นโปรแกรมที่ต้องการอย่างมีผลสัมฤทธิ์ถูกต้อง
4. สามารถเขียนโปรแกรมจัดการแฟ้มข้อมูล
5. มีกิจนิสัยและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดี ในการใช้คอมพิวเตอร์

มาตรฐานรายวิชา
1. วิเคราะห์การแก้ปัญหาเชิงขั้นตอนวิธีด้วยคอมพิวเตอร์
2. ทำการสังเคราะห์เครื่องมือและคำสั่งในภาษาโปรแกรมให้เป็นภาษาที่ใช้งานได้ตามความต้องการ
3. เขียนโปรแกรมจัดการแฟ้มข้อมูล
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการวิเคราะห์ขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหาการออกแบบ ส่วนแสดงผลและการติดต่อกับผู้ใช้ การใช้เครื่องมือในโปรแกรมโครงสร้างและไวยากรณ์ของการเขียนคำสั่งการสังเคราะห์เครื่องมือและสั่งให้เป็นโปรแกรมที่ต้องการ การสร้างโปรแกรมจัดการแฟ้มข้อมูล

การสร้างโปรแกรม Hello World

ทดลองสร้างโปรแกรม Hello World จาก Visual Basic 6.0

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554

แนะนำ Visual Basic

ระบบปฏิบัติการ Windows เป็นระบบที่ใช้งานได้ง่าย เพราะได้มีการออกแบบส่วนในการติดต่อกับผู้ใช้ในรูปแบบกราฟฟิก GUI: Graphic User Interface จึงมีผู้นิยมพัฒนาโปรแกรมต่างๆ ขึ้นมาใช้งานในระบบ Windows ซึ่งแต่เดิมนั้นโปรแกรมเมอร์จำเป็นต้องทราบรายละเอียดการทำงานของ Windows จึงจะสามารถเขียนรหัสควบคุมการทำงานได้ ทำให้เสียเวลาและยุ่งยากในการพัฒนา ดังนั้นเพื่อนให้เกิดความง่ายในการพัฒนาโปรแกรม บริษัทที่ผลิตระบบปฏิบัติการ Windows คือ Microsoft ได้พัฒนาโปรแกรมภาษาในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Visual Programming ขึ้นมา ซึ่ง Visual Basic ก็เป็นหนึ่งในโปรแกรมดังกล่าว

ใน Visual Basic จะใช้หลักของภาพและการมองเห็น โดยเริ่มจากออกแบบวินโดว์ย่อยหรือที่ใน Visual Basic เรียกว่า ฟอร์ม ในฟอร์มจะประกอบด้วยสิ่งต่างๆ ที่เราจะทำงานด้วย หรือเรียกว่าเป็น object เช่นข้อความ ช่องรับข้อความ Scroll Bar หรือปุ่ม (Button) เมื่อกำหนดสิ่งเหล่านี้ครบตามความต้อง การ แล้วจึงระบุว่าองค์ประกอบแต่ละอย่างจะทำงานอย่างไร นอกจาก object จะมีการตอบสนองต่อเหตุการณ ์ต่างๆ ที่กำหนดแล้ว ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่จะขอกล่าวคือ ทุก object จะมีลักษณะหรือ คุณสมบัติ (Property) ของตัวเองเช่น ช่องรับข้อความจะมีชื่อ ข้อความในนั้น ความกว้าง ความสูง สี โดยเราสามารถอ้างถึง หรือ เปลี่ยนคุณสมบัติเหล่านี้ได้ขณะที่โปรแกรมทำงานอยู่ เป็นต้นว่าหากไม่มีการป้อนข้อมูลจะให้แสดง ด้วยสีหนึ่งหรืออาจไม่ต้องแสดงบนจอภาพ เลย

ในการที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งกับ object นั้น จะมีสิ่งที่เรียกว่า Method ซึ่งเปรียเหมือนเป็นกระบวน การทำงานของ object ซึ่ง object แต่ะละแบบก็อาจจะมี method ที่แตกต่างกันออกไป เช่น ถ้าต้องการ สั่งให้เลื่อนตำแหน่งของข้อความ ก็จะมีกระบวน การชื่อ Move ของ label เพื่อทำงานนี้โดยสั่งว่า Label.move= ตำแหน่งที่จะย้ายไป หรือการสั่งพิมพ์ก็มี method ชื่อ print เป็นต้น ถ้าพูดไปแล้ว method นี้ก็คล้ายๆ กับคำสั่งที่ใช้ได้กับ object แต่ละชนิดนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น