เกี่ยวกับวิชาการเขียนโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการ GUI

จุดประสงค์รายวิชา
1. เข้าใจคำสั่ง โครงสร้างและหลักไวยากรณ์ของภาษา
2. วิเคราะห์การแก้ปัญหาเชิงขั้นตอนวิธีและออกแบบโปรแกรมอย่างง่าย
3. สามารถสังเคราะห์คำสั่งในโปรแกรมภาษา ให้ออกมาเป็นโปรแกรมที่ต้องการอย่างมีผลสัมฤทธิ์ถูกต้อง
4. สามารถเขียนโปรแกรมจัดการแฟ้มข้อมูล
5. มีกิจนิสัยและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดี ในการใช้คอมพิวเตอร์

มาตรฐานรายวิชา
1. วิเคราะห์การแก้ปัญหาเชิงขั้นตอนวิธีด้วยคอมพิวเตอร์
2. ทำการสังเคราะห์เครื่องมือและคำสั่งในภาษาโปรแกรมให้เป็นภาษาที่ใช้งานได้ตามความต้องการ
3. เขียนโปรแกรมจัดการแฟ้มข้อมูล
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการวิเคราะห์ขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหาการออกแบบ ส่วนแสดงผลและการติดต่อกับผู้ใช้ การใช้เครื่องมือในโปรแกรมโครงสร้างและไวยากรณ์ของการเขียนคำสั่งการสังเคราะห์เครื่องมือและสั่งให้เป็นโปรแกรมที่ต้องการ การสร้างโปรแกรมจัดการแฟ้มข้อมูล

การสร้างโปรแกรม Hello World

ทดลองสร้างโปรแกรม Hello World จาก Visual Basic 6.0

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554

คำสั่งแบบมีเงื่อนไขเพื่อการตัดสินใจ

คำสั่งแบบมีเงื่อนไขเพื่อการตัดสินใจ
การเขียนโปรแกรมแบบมีเงื่อนไข เป็นลักษณะของการเปรียบเทียบหรือตรวจสอบข้อมูลเพื่อหาหนทางการทำงาน ที่ถูกต้องให้เป็นไปตามความต้องการของเงื่อนไขหรือของทิศทางการทำงานที่ต้องการ โดยผลของการ เปรียบเทียบข้อมูลหรือการทดสอบเงื่อนไขมีความเป็นไปได้ 2 ทิศทาง คือ ผลการเปรียบเทียบที่ให้ผล ค่าเป็นจริง (True) และ ผลการเปรียบเทียบที่ให้ผลค่าเป็นเท็จ (False) การเขียนโปรแกรมแบบมีเงื่อน ไขจึงมีประโยชน์มากสำหรับคอมพิวเตอร์ในการตัดสินใจในทิศทางการทำงานตามเงื่อนไขต่าง ๆ ตามทิศ ทางที่ต้องการได้ด้วยตัวเอง

ประโยคแบบเงื่อนไข If Statement แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ

1.1.1 คำสั่ง If…Then เป็นคำสั่งที่เขียนโปรแกรมเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ ทำการเปรียบเทียบและตัดสินใจเลือกเงื่อนไขที่เป็นจริงและให้กระทำคำสั่งที่ต้องการ โดยมีทางเลือกเพียง 1 ทางเท่านั้น

รูปแบบคำสั่ง

If เงื่อนไข Then

ชุดคำสั่งต่างๆที่ต้องการทำเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง

End If

หลักการทำงาน จากรูปแบบคำสั่งหรือผังงาน เมื่อโปรแกรมพบคำสั่งนี้ จะทำการตรวจสอบเงื่อนไขหลัง IF ผลลัพธ์ที่ได้คือ

- เงื่อนไขเป็นจริง จะทำตามคำสั่งหลัง Then

- เงื่อนไขเป็นเท็จ จะออกจากเงื่อนไข

ตัวอย่าง

Dim y As Integer

y=5

If y > 2 Then

Debug.Print “Y มีค่ามากกว่า 2”

End If

Debug.Print “Y มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2”

1.1.2 คำสั่ง If…Then…Else เป็นคำสั่งที่เขียนโปรแกรมเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ ทำการตรวจสอบเงื่อนไขแล้วมีทางเลือก 2 ทางเลือก โดยเปรียบเทียบกับเงื่อนไขที่ได้

รูปแบบคำสั่ง

IF เงื่อนไข THEN

ชุดคำสั่งต่างๆที่ต้องการทำเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง

Else

ชุดคำสั่งต่างๆที่ต้องการทำเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ

End If

Debug.Print “Y มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2”

หลักการทำงาน จากรูปแบบคำสั่งหรือผังงาน เมื่อโปรแกรมพบคำสั่งนี้ จะทำการตรวจสอบเงื่อนไขหลัง IF ผลลัพธ์ที่ได้คือ

- ถ้าเงื่อนไขเป็นจริง ให้ทำตามคำสั่งหรือชุดคำสั่งหลัง Then

- ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จ ให้ทำตามคำสั่งหรือชุดคำสั่งหลัง Else

ตัวอย่างการใช้งาน If…Then…Else

Dim A As Integer, B As Integer

Dim C As Integer

A = 5

B = 10

If A > B Then

C = A + B

Else

C = A- B

End If

จากตัวอย่างจะมีการนำค่า A มาเปรียบเทียบกับ B ถ้าหากว่า A มากกว่า B ก็จะเอา A บวก กับ B แล้วเก็บไว้ใน C ถ้า กรณี A<= B จะเป็นการนำเอา A มาลบออกด้วย B แล้วเก็บผลลัพธ์ไว้ใน C แต่ในตัวอย่างจะมีการทำคำสั่ง

C = A- B เพราะ A = 5 และ B = 10 ดังนั้น A จึงไม่มากกว่า B จึงเป็นเหตุให้เงื่อนไขเป็นเท็จ ดังนั้น คำสั่ง C = A- B จึงถูกกระทำ

1.1.3 คำสั่ง If…Then…Elseif เป็นคำสั่งที่เขียนโปรแกรมเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ ทำการตรวจสอบเงื่อนไขแล้วมีทางเลือกมากกว่า 2 ทางเลือก

รูปแบบคำสั่ง

IF เงื่อนไข1 THEN

ชุดคำสั่งต่างๆที่ต้องการทำเมื่อเงื่อนไข1เป็นจริง

Elseif เงื่อนไข2 THEN

ชุดคำสั่งต่างๆที่ต้องการทำเมื่อเงื่อนไข2เป็นจริง

Else

ชุดคำสั่งต่างๆที่ต้องการทำเมื่อไม่ตรงกับเงื่อนไขใด

End If

หลักการทำงาน จากรูปแบบคำสั่งหรือผังงาน เมื่อโปรแกรมพบคำสั่งนี้ จะทำการตรวจสอบเงื่อนไขหลัง IF ผลลัพธ์ที่ได้คือ

- ถ้าเงื่อนไขแรกเป็นจริง ให้ทำตามคำสั่งหรือชุดคำสั่งหลัง Then หากเงื่อนไขแรกเป็นเท็จ ให้เข้าตรวจสอบเงื่อนไขที่ 2

- ถ้าเงื่อนไขที่ 2 เป็นจริง ให้ทำตามคำสั่งหรือชุดคำสั่งหลัง Then ของคำสั่งที่ 2 หากเงื่อนไขที่ 2 เป็นเท็จ ให้ทำการตรวจสอบเงื่อนไขอีกเรื่อยๆ

- ถ้าเงื่อนไขทั้งหมดเป็นเท็จ ให้ทำตามคำสั่งหรือชุดคำสั่งหลัง Else

ตัวอย่าง

If y > 2 Then

MsgBox “วายมากกว่าสอง”, vbInformation+vbOkOnly, “ประโยคเงื่อนไข

ElseIf y > 0 Then

MsgBox “วายไม่มากศูนย์ แต่น้อยกว่าหรือเท่ากับสอง”, vbInformation+vbOkOnly, “ประโยคเงื่อนไข

Else

MsgBox “วายไม่มากกว่าศูนย์”, vbInformation+vbOkOnly, “ประโยคเงื่อนไข

End If

ประโยคแบบเงื่อนไข Select Case

คำสั่ง Select Case เป็นคำสั่งที่เหมาะสำหรับการตรวจสอบเงื่อนไข และมีทางเลือกมากกว่า 2 ทางเลือกนิยมใช้ในกรณีที่เงื่อนไขมีตัวแปรเพียงตัวเดียว ลักษณะการทำงานคล้ายกับคำสั่ง If…Then…Elseif แต่จะมีโครงสร้างซับซ้อนน้อยกว่า

รูปแบบคำสั่ง

Select Case ชื่อตัวแปร

Case เงื่อนไข1

ชุดคำสั่งต่างๆเงื่อนไข1เป็นจริง

Case เงื่อนไข2

ชุดคำสั่งต่างๆเงื่อนไข2เป็นจริง

Case เงื่อนไขn

ชุดคำสั่งต่างๆเงื่อนไขnเป็นจริง

Case Else

ชุดคำสั่งต่างๆเมื่อไม่ตรงกับเงื่อนไขใด

End Select

หลักการทำงาน จากรูปแบบคำสั่งหรือผังงาน เมื่อโปรแกรมพบคำสั่งนี้ จะทำการตรวจสอบค่าของตัวแปรหลัง Select Case ว่ามีค่าตรงกับเงื่อนไขใดหลังคำสั่ง Case ก็ให้ทำคำสั่งที่อยู่ต่อจากคำสั่ง Case นั้นๆ และถ้าค่าของตัวแปรไม่ตรงกับเงื่อนไขคำสั่งหลัง Case ใดเลย โปรแกรมจะทำคำสั่งที่อยู่หลัง Case Else

การใช้คำสั่ง Select Case มี 2 ลักษณะ

1. การใข้คำสั่ง Select Case แบบกำหนดช่วง

ตัวอย่าง

Select Case total

Case 10 To 20

MsgBox “Total มีค่าตั้งแต่ 10 ถึง 20”

Case 30 To 40

MsgBox “Total มีค่าตั้งแต่ 30 ถึง 40”

Case 50 To 60

MsgBox “Total มีค่าตั้งแต่ 50 ถึง 60”

Case Else

MsgBox “กรุณาป้อนข้อมูลใหม่

End Select

2. การใช้คำสั่ง Select Case แบบเปรียบเทียบ ใช้ IS เพื่อแทนชื่อตัวแปร

ตัวอย่าง 1

Select Case y

Case IS >= 2

MsgBox “วายมากกว่าหรือเท่ากับสอง”, vbInformation+vbOkOnly, “ประโยคเงื่อนไข

Case IS >= 8

MsgBox “วายมากกว่าหรือเท่ากับแปด”, vbInformation+vbOkOnly, “ประโยคเงื่อนไข

Case Else

MsgBox “วายมากกว่าหรือเท่ากับสองและแปด”, vbInformation+vbOkOnly, “ประโยคเงื่อนไข

End Select

ตัวอย่าง 2

Select Case y

Case 2

MsgBox “วายเท่ากับสอง”, vbInformation+vbOkOnly, “ประโยคเงื่อนไข

Case 0

MsgBox “วายเท่ากับศูนย์”, vbInformation+vbOkOnly, “ประโยคเงื่อนไข

Case Else

MsgBox “วายไม่เท่ากับสอง และไม่เท่ากับศูนย์”, vbInformation+vbOkOnly, “ประโยคเงื่อนไข

End Select

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น