เกี่ยวกับวิชาการเขียนโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการ GUI

จุดประสงค์รายวิชา
1. เข้าใจคำสั่ง โครงสร้างและหลักไวยากรณ์ของภาษา
2. วิเคราะห์การแก้ปัญหาเชิงขั้นตอนวิธีและออกแบบโปรแกรมอย่างง่าย
3. สามารถสังเคราะห์คำสั่งในโปรแกรมภาษา ให้ออกมาเป็นโปรแกรมที่ต้องการอย่างมีผลสัมฤทธิ์ถูกต้อง
4. สามารถเขียนโปรแกรมจัดการแฟ้มข้อมูล
5. มีกิจนิสัยและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดี ในการใช้คอมพิวเตอร์

มาตรฐานรายวิชา
1. วิเคราะห์การแก้ปัญหาเชิงขั้นตอนวิธีด้วยคอมพิวเตอร์
2. ทำการสังเคราะห์เครื่องมือและคำสั่งในภาษาโปรแกรมให้เป็นภาษาที่ใช้งานได้ตามความต้องการ
3. เขียนโปรแกรมจัดการแฟ้มข้อมูล
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการวิเคราะห์ขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหาการออกแบบ ส่วนแสดงผลและการติดต่อกับผู้ใช้ การใช้เครื่องมือในโปรแกรมโครงสร้างและไวยากรณ์ของการเขียนคำสั่งการสังเคราะห์เครื่องมือและสั่งให้เป็นโปรแกรมที่ต้องการ การสร้างโปรแกรมจัดการแฟ้มข้อมูล

การสร้างโปรแกรม Hello World

ทดลองสร้างโปรแกรม Hello World จาก Visual Basic 6.0

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554

คำสั่งเงื่อนไขแบบวนรอบ

คำสั่งเงื่อนไขแบบวนรอบ
การเขียนโปรแกรมแบบวนรอบ เป็นลักษณะการทำงานที่ทำคำสั่งเดิมซ้ำๆ จนกระทั่งได้เงื่อนไขตามที่ต้องการ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แบบวนซ้ำ การทำงานแบบนี้ช่วยเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้พัฒนาโปรแกรม เพราะไม่ต้องเขียนโปรแกรมที่ซ้ำซ้อน โดยสามารถเลือกรูปแบบการวนซ้ำที่เหมาะสมทำให้เขียนโปรแกรมที่สั้นลงและทำงานได้มีประสิทธิภาพ

1.1 คำสั่ง For…Next เป็นคำสั่งวนรอบด้วยจำนวนครั้งในการวนรอบที่แน่นอน โดยสามารถกำหนดค่าเริ่มต้น และค่าสิ้นสุดการทำซ้ำได้ตามที่ผู้เขียนโปรแกรมต้องการ ซึ่งในการปฏิบัติจะมีตัวแปรที่ถูกกำหนดขึ้นสำหรับนับค่าจำนวนรอบ โดยตัวนับรอบจะเริ่มต้นด้วยค่าเริ่มต้นที่ผู้เขียนโปรแกรมกำหนดและจะเพิ่มค่าขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละรอบที่คำสั่ง Next จนกว่าจะถึงค่าสุดท้ายที่กำหนดก็จะหยุดปฏิบัติการและออกจากการวนซ้ำในการเพิ่มค่านั้น โดยปกติจะเพิ่มค่าขึ้นครั้งละ 1 แต่ถ้าต้องการเพิ่มค่าครั้งละมากกว่า หรือน้อยกว่า 1 สามารถกำหนดได้เช่นเดียวกัน

รูปแบบคำสั่ง

For ชื่อตัวแปร = ค่าเริ่มต้น To ค่าสิ้นสุด [Step ค่าที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในแต่ละรอบ]

ชุดคำสั่งต่างๆ

Next ชื่อตัวแปร

หลักการทำงาน จากรูปแบบคำสั่งหรือผังงาน เมื่อเริ่มต้นการทำงานในรอบแรกต่าตัวแปรจะเท่ากับค่าเริ่มต้น และจะทำตามคำสั่งที่อยู่ระหว่าง For... กับ Next เมื่อทำตามคำสั่งเรียบร้อยแล้วจะกลับไปเพิ่มหรือลดค่าของตัวแปรอีดโดยต้องดูว่ามีการกำหนดค่าที่เพิ่มหรือลด หรือไม่ คือคำสั่ง Step ถ้าไม่มีการกำหนด Step ค่าจะเพิ่มขึ้นครั้งละ 1 เมื่อเพิ่มค่าแล้วจะกลับมาปฏิบัติตามคำสั่งแล้วกลับไปเพิ่มหรือลดค่าอีก ทำซ้ำอยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าค่าของตัวแปรจะมากกว่าหรือน้อยกว่าค่าสุดท้าย จากนั้นจะไปทำงานตามคำสั่งที่อยู่ต่อจากคำสั่ง Next หรือหลุดจากการทำซ้ำ

ตัวอย่าง 1 เพิ่มค่าทีละ 1

For i = 0 To 10

MsgBox “ไอมีค่าเท่ากับ” & i, vbInformation+vbOkOnly, “ประโยควนลูป

Next i

ตัวอย่าง 2 เพิ่มค่าทีละ 2

For i = 5 To 15 Step 2

MsgBox “ไอมีค่าเท่ากับ” & i, vbInformation+vbOkOnly, “ประโยควนลูป

Next i

ตัวอย่าง 3 ลดค่าทีละ 3

For i = 15 To 2 Step -3

MsgBox “ไอมีค่าเท่ากับ” & i, vbInformation+vbOkOnly, “ประโยควนลูป

Next i

2.2 คำสั่ง While…Wend เป็นคำสั่งที่มีการทำงานเป็นวนรอบเช่นเดียวกับ For แต่เป็นคำสั่งวนรอบด้วยจำนวนครั้งในการวนรอบที่ไม่แน่นอน จะทำงานวนรอบไปเรื่อย ๆ จนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จ

รูปแบบคำสั่ง

While เงื่อนไข

ชุดคำสั่งเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง

กำหนดการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของตัวแปร

Wend

หลักการทำงาน จากรูปแบบคำสั่งหรือผังงาน เมื่อเริ่มต้นโปรแกรมจะเริ่มด้วยการตรวจสอบเงื่อนไขหลัง While ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงก็จะทำตามคำสั่งที่อยู่ในลูป(Loop) และเมื่อทำตามคำสั่งจนมาถึงคำสั่ง Wend ก็จะกลับไปตรวจสอบเงื่อนไขหลัง While อีก กระทำไปเรื่อยๆ จนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จจึงออกจากลูป(Loop)

ตัวอย่างการใช้งาน While…Wend

Private Sub Command1_Click()

A=1

While A<5

Debug.Print A

A=A+1

Wend

End Sub


ผลลัพธ์ 1

2

3

4

จากตัวอย่าง A มีค่าเริ่มต้นที่ 1 ในคำสั่ง While เงื่อนไขคือ A < 5 ซึ่งเป็นจริงก็จะพิมพ์ค่า A ออกไปที่ Debug Windows โดยใช้คำสั่ง Debug.Print A แล้วจะมีการเพิ่มค่า A เข้าไปที่ละ 1 โดยใช้คำสั่ง A = A+1 จากนั้นก็จะวนกลับขึ้นไปตรวจสอบเงื่อนไขที่ While จะทำวนรอบไปเรื่อย ๆ จนกว่า A จะเท่ากับ 5 เมื่อ A เท่ากับ 5 แล้วจะทำให้เงื่อนไขเป็นเท็จ ก็เป็นอันว่าหลุดออกจากคำสั่ง While

1.1 คำสั่ง Do…Until

เป็นคำสั่งที่มีการทำงานเป็นวนรอบที่ไม่แน่นอนเช่นเดียวกับคำสั่ง While…Wend ซึ่งมีรูปแบบการทำงานของคำสั่ง 2 รูปแบบ คือ

2.2.1 Do Until…Loop

รูปแบบคำสั่ง

Do Until เงื่อนไข

ชุดคำสั่งเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ

กำหนดการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของตัวแปร

Loop

หลักการทำงาน เมื่อโปรแกรมพบคำสั่ง Do Until ก็จะตรวจสอบเงื่อนไขหลัง Do Until ถ้าเป็นจริงให้ข้ามคำสั่ง Do Until เพื่อไปทำตามคำสั่งที่อยู่ถัดจาก Loop ทันที แต่ถ้าเป็นเท็จให้ทำตามคำสั่งที่อยู่ระหว่าง Do Until กับ Loop เมื่อทำตามคำสั่งเรียบร้อยแล้วก็จะกลับไปตรวจสอบเงื่อนไขอีกครั้งจนกว่าค่าหลัง Do Until จะเป็นจริงจึงจะหลุดออกจากลูป

ตัวอย่าง

Private Sub Command1_Click()

I=0

Do Until I >=5

Debug.Print “Do Until = ”&I

I=I+1

Loop

End Sub

ผลลัพธ์
Do Until = 1
Do Until = 2
Do Until = 3
Do Until = 4

2.2.2 Do… Loop Until

รูปแบบคำสั่ง

Do

ชุดคำสั่ง

กำหนดการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของตัวแปร

Loop Until

หลักการทำงาน หลักการวนรอบการทำงานยังคงเหมือนกับคำสั่งแบบ Do Until….Loop คือจะทำงานตามคำสั่งไปเรื่อย ๆ จนกว่าเงื่อนไขที่ทดสอบจะมีค่าเป็นจริง เพียงแต่คำสั่งแบบ Do…. Loop Until จะทำงานตามคำสั่งก่อนทดสอบเงื่อนไขอย่างน้อย 1 รอบ

ตัวอย่าง

Private Sub Command1_Click()

I=0

Do

Debug.Print “Do Until = ”&I

I=I+1

Loop Until I =5

End Sub

ผลลัพธ์
Do Until = 1
Do Until = 2
Do Until = 3
Do Until = 4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น